ดูบทความการเลือกอุปการณ์กันระเบิด โคมไฟกันระเบิด LED ในพื้นที่อันตรายที่มีไอระเหยของสารไวไฟ

การเลือกอุปการณ์กันระเบิด โคมไฟกันระเบิด LED ในพื้นที่อันตรายที่มีไอระเหยของสารไวไฟ

หมวดหมู่: KNOWLEDGE

การเลือกใช้อุปกรณ์กันระเบิด
โคมไฟกันระเบิด
LED Explosion Proof

สามเหลี่ยมแห่งไฟ สาเหตุของการจุดติดไฟ การเกิดประกายไฟ
 

 

จากเหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกย่านกิ่งแก้ว

 
การเลือกใช้อุปกรณ์กันระเบิด โคมไฟกันระเบิด LED Explosion Proof
 

จังหวัดสมุทรปราการและโรงงานผลิตน้ำหอมย่านลาดกระบังนั้น ทำให้เราทุกคนต้องตระหนักถึงอันตรายของประกายไฟ ระบบไฟฟ้าและระบบแสงสว่างในโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายนั้น ควรจะมีการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าและแสงสว่างตามมาตรฐานความปลอดภัยโรงงานอย่างสม่ำเสมอ พื้นที่เสี่ยงควรใช้อุปกรณ์ป้องกันการเกิดระเบิด โดยทาง บริษัทเซเครทไลท์ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายโคมไฟกันระเบิดที่มีมาตรฐานรับรองจากยุโรป อเมริกา และได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจพลังงานในประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูล หลักการเลือกอุปกรณ์โคมไฟชนิดป้องกันการระเบิด ไว้เพื่อเป็นข้อมูลเผยแพร่ ดังนี้

1.สาเหตุที่อาจทำให้เกิดการจุดติดระเบิด (Ignition Source)
การออกแบบระบบป้องกันการจุดติดระเบิดภายในบริเวณที่มีการใช้หรือจัดเก็บสารไวไฟนั้น ผู้ออกแบบจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดบรรยากาศที่มีสารไวไฟปนเปื้อนมากเพียงพอให้เกิดการจุดติดไฟได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีกระบวนการผลิตหรืองานบำรุงรักษาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาพบรรยากาศดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงต้องพยายามป้องกันมิให้เกิดการจุดระเบิดในสถานที่นั้น ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดการจุดระเบิดที่สำคัญ มีดังนี้
• เปลวไฟ: Open Flame
• พื้นผิวที่มีความร้อนสูง: Hot Surfaces
• การอาร์ก และการสปาร์กของอุปกรณ์ไฟฟ้า: Electrical Arcs and Sparks
• การถ่ายเทประจุของไฟฟ้าสถิตระหว่างวัตถุที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า: Electrostatic Discharge
• การเกิดฟ้าผ่า หรือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจาก บรรยากาศ ลงสู่พื้นดิน: Lightning (Atmospheric Discharge)
• การเกิดการเสียดสีของเครื่องจักรกล หรือการกระทบอย่างรุนแรงของโลหะ: Mechanical Friction or Impact Sparks
• การเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเข้มสูง: Electromagnetic Radiation
• การเกิดคลื่นอัลตร้าโซนิกที่มีพลังงานสูง: Ultrasonic
• คลื่นพลังงานกระแทกอย่างรุนแรง: Shock Waves (Adiabatic Compression)
• การแผ่คลื่นพลังงานจากปฏิกิริยาการแยกตัวของไอออน: Ionizing Radiation
• การแผ่คลื่นแสงที่มีความเข้มสูง: Optical Radiation
• ปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงและเกิดพลังงานความร้อนสูง: Chemical Reaction

2.การเลือกอุปกรณ์กันระเบิด
เราจะเห็นว่า การอาร์กและการสปาร์กของอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในสาเหตุของการจุดระเบิดได้ ดังนั้นเราต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่ป้องกันการระเบิด โดยการออกแบบมาจากพื้นฐานแนวคิดคือ การเกิดเพลิงไหม้จะต้องมีองค์ 3 อย่าง หรือ สามเหลี่ยมแห่งไฟ คือ
1. สารไวไฟหรือเชื้อเพลิงในปริมาณมากพอ
2. ออกซิเจน
3. แหล่งจุดติดไฟ หรือในที่นี้ก็คือ การอาร์กและการสปาร์ก นั้นเอง ดังรูป

ดังนี้หากเราเลือกใช้อุปกรณ์กันการระเบิด หรือ โคมไฟที่จะไม่ทำให้เกิดการอาร์กและการสปาร์ก ก็เท่ากับเราทำลายองค์ประกอบการระเบิดได้แล้ว โดยที่หากเราเน้นเฉพาะโคมไฟฟ้ากันระเบิดแล้ว เลือกอุปกรณ์ที่มีสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อ บริษัท เซเครทไลท์ จำกัด (SL) มีบริการสำรวจหน้างานและติดตั้งโดยทีมงานมืออาชีพ” เพราะชีวิตเป็นสิ่งสำคัญและความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้”

21 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 1265 ครั้ง

Engine by shopup.com