ดูบทความการเลือกใช้โคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่อันตรายที่มีไอระเหยของสารไวไฟ ตอนที่ 1 การจำแนกพื้นที่อันตราย

การเลือกใช้โคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่อันตรายที่มีไอระเหยของสารไวไฟ ตอนที่ 1 การจำแนกพื้นที่อันตราย

หมวดหมู่: KNOWLEDGE

ความรู้เบื้องต้นการเลือกโคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่อันตรายที่มีไอระเหยของสารไวไฟ

บริษัท เซเครทไลท์ จำกัด (SL) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายโคมไฟกันระเบิดที่ได้มาตรฐาน ATEX IECEx UL และได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจพลังงาน ได้รวบรวมและสรุปความรู้พื้นฐานที่เกียวกับการเลือกโคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่อันตรายที่มีไอระเหยของสารไวไฟต่างๆ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าไม่มากก็น้อยดังนี้

บางครั้งลูกค้าถามหาโคมไฟกันระเบิดที่ใช้ใน Zone 1 / Zone 2 , บางครั้งลูกค้าถามหาโคมไฟกันระเบิด Class I Div I หรือ Class I Div II บ้าง เหล่านี้ต่างกันอย่างไร

มาตรฐานการจัดแบ่งพื้นที่อันตรายนั้นสามารถแบ่งได้ตาม

  • มาตรฐานการออกแบบและการติดตั้งระบบไฟฟ้าของ North American Codes คือ NEC และมาตรฐาน CEC โดยจะแบ่งพื้นที่อันตราย ออกเป็น
    • Class I สำหรับแก๊สและไอระเหย และยังมีการแบ่งกลุ่มแก๊ส และไอระเหยใน Class I ออกเป็นกลุ่ม
      • A, B, C และ D ตามคุณสมบัติ 3 ประการ คือ (1) ความดันจากการระเบิด (Explosive Pressure) (2) การขยายตัวของเปลวไฟ (Flame Transmission) และ (3) อุณหภูมิการจุดระเบิด (Ignition Temperature)
    • Class II สำหรับฝุ่นที่จุดติดไฟได้ และ
    • Class III สำหรับเส้นใยที่จุดติดไฟได้

เนื่องจาก การติดตั้งระบบไฟฟ้าแบบป้องกันการกันระเบิด (Explosion proof) ทั้งหมดใน พื้นที่ที่มีสารอันตรายจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก NEC จึงได้กำหนดพื้นที่ “Division 2” เพิ่มขึ้นมา ซึ่งหมายถึงพื้นที่อันตรายที่ยอมให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐานการป้องกันการระเบิดที่ต่ำกว่าได้ โดยมีเงื่อนไขคือ เป็นบริเวณที่มีการจัดเก็บหรือใช้สารไวไฟซึ่งจะมีโอกาสรั่วไหลของสารไวไฟสู่บรรยากาศในสภาวะไม่ปกติเท่านั้น เช่น การเกิดอุบัติเหตุระหว่าง การทำงาน หรือการเกิดรอยแตกร้าวของถังบรรจุ เป็นต้น 

ดังนั้น หากลูกค้า กำลังพูดถึง โคมไฟกันระเบิดที่ใช้ใน CLASS I DIV I จึงเป็นการอ้างอิงตามมาตรฐานอเมริกา ต้องมองหาโคมไฟกันระเบิดที่ใช้กับสถานที่จัดเก็บแก๊สหรือไอระเหยที่ต้องการมาตรฐานกันระเบิดที่เข้มข้นกว่า DIV II เป็นต้น

  • และ มาตรฐานของยุโรปคือ IEC และ CENELEC จะแบ่งพื้นที่อันตราย ออกเป็น
    • ZONE 0
    • ZONE 1
    • ZONE 2

สรุป การจำแนกพื้นที่อันตราย การจำแนกเป็นประเภท (Class) และแบบ (Division) เป็นไปตามมาตรฐานของ NEC หรือ การจำแนกเป็นโซน (Zone)  เป็นไปตามมาตรฐานของ IEC (IEC 60079)

แต่เมื่อเรานำการจำแนกพื้นที่อันตรายมาใช้งาน  เราต้องไม่นำวิธีการในการจำแนกบริเวณอันตรายที่แตกต่างกันมาใช้ผสมปนเปกันในการจำแนกบริเวณอันตรายบริเวณเดียวกันอย่างเด็ดขาดเพราะนั้นเป็นการใช้มาตรฐานที่สับสน

 

การจำแนกพื้นที่อันตราย CLASS and ZONE

07 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้ชม 1846 ครั้ง

Engine by shopup.com